เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 6

17
[326] ธาตุที่สลัด1 6
1. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าได้เจริญเมตตาเจโต-
วิมุตติ2แล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว
ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่พยาบาท(ความคิดร้าย)
ก็ยังครอบงำจิตของข้าพเจ้าอยู่’ ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวตักเตือนเธอ
ว่า ‘อย่าได้กล่าวอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ อย่าได้กล่าวอย่างนี้ ผู้มีอายุ
อย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค เพราะการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดี
เลย พระผู้มีพระภาคไม่ตรัสอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ เป็นไปไม่ได้เลย
ที่ภิกษุได้เจริญเมตตาเจโตวิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจ
ยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว
แต่พยาบาทก็ยังครอบงำจิตของภิกษุนั้นอยู่’ ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้เลย
เพราะเมตตาเจโตวิมุตตินี้เป็นธาตุที่สลัดพยาบาท
2. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าได้เจริญกรุณา-
เจโตวิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว
ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่วิหิงสา(ความเบียดเบียน)
ก็ยังครอบงำจิตของข้าพเจ้าอยู่’ ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวตักเตือนเธอ
ว่า ‘อย่าได้กล่าวอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ อย่าได้กล่าวอย่างนี้ ผู้มีอายุ
อย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค เพราะการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาค

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.ฉกฺก. (แปล) 22/13/429-431
2 เมตตาเจโตวิมุตติในที่นี้หมายถึงเมตตาที่เกิดจากตติยฌานและจตุตถฌาน เพราะพ้นจากปัจจนีกธรรม
(ธรรมที่เป็นข้าศึก) กล่าวคือนิวรณ์ 5 ประการ ได้แก่ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ
วิจิกิจฉา (ที.ปา.อ. 326/234, องฺ.เอกก.อ. 1/7/42, องฺ. ฉกฺก. อ. 3/13/104)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :325 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 6

ไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่ตรัสอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ เป็นไปไม่ได้เลย
ที่ภิกษุได้เจริญกรุณาเจโตวิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจ
ยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว
แต่วิหิงสาก็ยังครอบงำจิตของภิกษุนั้นอยู่’ ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้เลย
เพราะกรุณาเจโตวิมุตตินี้เป็นธาตุที่สลัดวิหิงสา
3. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าได้เจริญมุทิตา-
เจโตวิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว
ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่อรติ(ความไม่ยินดี) ก็ยัง
ครอบงำจิตของข้าพเจ้าอยู่’ ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวตักเตือนเธอว่า
‘อย่าได้กล่าวอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ อย่าได้กล่าวอย่างนี้ ผู้มีอายุ อย่าได้
กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค เพราะการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย
พระผู้มีพระภาคไม่ตรัสอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุ
ได้เจริญมุทิตาเจโตวิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว
ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่อรติ
ก็ยังครอบงำจิตของภิกษุนั้นอยู่’ ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้เลย เพราะมุทิตา-
เจโตวิมุตตินี้เป็นธาตุที่สลัดอรติ
4. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าได้เจริญอุเบกขา-
เจโตวิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว
ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่ราคะก็ยังครอบงำจิตของ
ข้าพเจ้าอยู่’ ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวตักเตือนเธอว่า ‘อย่าได้กล่าว
อย่างนี้เลย ผู้มีอายุ อย่าได้กล่าวอย่างนี้ ผู้มีอายุ อย่าได้กล่าวตู่
พระผู้มีพระภาค เพราะการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย พระผู้มี
พระภาคไม่ตรัสอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุได้เจริญ
อุเบกขาเจโตวิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้
เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่ราคะก็ยัง
ครอบงำจิตของภิกษุนั้นอยู่’ ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้เลย เพราะอุเบกขา-
เจโตวิมุตตินี้เป็นธาตุที่สลัดราคะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :326 }